เมนู

มาก่อน. ด้วยบทว่า อภิญฺญาโวสานปารมิปฺปตฺโต ปฏิชานามิ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคุณที่พระองค์บรรลุ ณ มหาโพธิบัลลังก์ ว่าเรารู้ยิ่ง
ในสัจธรรม 4 ด้วยการทำกิจ 16 อย่าง สำเร็จด้วยมรรค 4 แล้วบรรลุบารมี
สุดท้าย คือ ฝั่งแห่งความเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะกิจทั้งหมดจบสิ้นแล้ว
จึงปฏิญาณ. บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ ของพระตถาคตด้วยเหตุ 8 อย่าง.
บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังญาณที่ถึงแล้วคือเป็นไปแล้วโดยอาการ
ที่จะพึงถึงได้ด้วยกำลังเหล่านั้น. บทว่า อาสภณฺฐานํ คือ ฐานะอันประ-
เสริฐสุด. บทว่า สิหนาทํ คือ บันลืออันแกล้วกล้า. บทว่า พฺรหฺมจกฺกํ
คือ จักรอันประเสริฐ. บทว่า ปวตฺเตติ คือ กล่าว.
จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ 1

2. กูฏสูตร


ว่าด้วยกำลังพระเสขะ 5


[12] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ 5 ประการนี้ 5
ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา 1 กำลัง คือ หิริ 1 กำลัง
คือ โอตตัปปะ 1 กำลัง คือ วิริยะ 1 กำลัง คือ ปัญญา 1
ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ 5 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดากำลังของพระเสขะ 5 ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด
เป็นที่รวบรวม สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ
ยอด ฉันใด บรรดากำลังของพระเสขะ 5 ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา

ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบด้วย
กำลังคือศรัทธา. . . กำลัง คือ หิริ. . . กำลัง คือ โอตตัปปะ. . . กำลังคือ
วิริยะ. . . กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบกูฏสูตรที่ 2

อรรถกถากูฏสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในกูฏสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เสกฺขพลานิ ได้แก่ กำลังญาณของพระเสกขะ. บทว่า
อคฺคํ คือ สูงสุด. เสกขพละ ชื่อว่า สังคาหิกะเป็นที่รวม เพราะรวมพละที่เหลือ
ดุจเรือนยอดรวมไม้จันทันฉะนั้น. เสกขพละ ชื่อว่า สังฆาตนียะ เป็นที่ประชุม
เพราะทำพละเหล่านั้นให้ประชุมกัน.
จบอรรถำกถากูฏสูตรที่ 2

3. สังขิตตสูตร


ว่าด้วยกำลัง 5


[13] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน
คือ กำลัง คือ ศรัทธา 1 กำลัง คือ วิริยะ 1 กำลัง คือ สติ 1 กำลัง คือ
สมาธิ 1 กำลัง คือ ปัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 5 ประการนี้แล.
จบสังขิตตสูตรที่ 3